ป้องกันมะเร็งเต้านม
สารอินโดลที่พบในบร็อกโคลี มีคุณสมบัติช่วยลดระดับการสร้างฮอโมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญทำให้เนื้อร้ายเจริญเติบโตโดยเฉพาะในเซลล์เต้านม ในขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มระดับของ 2-Hydroxyestrone คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนรูปแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง และจาการศึกษาพบว่า สารอินโดลในบร็อกโคลียังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งขยายไปยังอวัยวะอื่นๆ นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่า ในบร็อกโคลีมีสารซัลโฟราเฟน มีคุณสมบัติช่วยให้ร่างกายขับสารก่อมะเร็งที่ได้รับออกมาอย่างรวดเร็ว
ลดความเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
ในกลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะสูง ได้แก่ ผู้ชายนักสูบและผู้สูงอายุประมาณ 64 ปี โดยนักวิจัยพบว่า สารไอโซไธโอไซยาเนต จะทำหน้าที่ปกป้องกระเพาะปัสสาวะ ด้วยการผลิตสารประกอบที่เมื่อถูกย่อยสลายแล้วจะเดินทางผ่านกระเพาะปัสสาวะ ก่อนที่จะถูกขับถ่ายออกในรูปของปัสสาวะ ช่วยให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรงลดน้อยลง
ป้องการมะเร็งรังไข่
ในบร็อกโคลีอุดมไปด้วยสารแคมป์ฟอรอลซึ่งเป็นสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรับไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก
จากการศึกษาในผู้ชายจำนวน 29,361 คน ผู้ชายที่กินบร็อกโคลีมากกว่า 1 ในครั้งในสัปดาห์จะมีความเสี่ยงต่อการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับผู้ที่กินบร็อกโคลีน้อยกว่าเดือนละครั้ง
ป้องกันมะเร็งลำไส้ตรง
จากการศึกษาของ Netherlands Cohort Study ที่รวบรวมข้อมูลจากประชากรจำนวน 100,000 คน ใช้เวลามากกว่า 6 ปี คนที่กินผักทั่วไปเป็นประจำและสม่ำเสมอจะลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ตรงได้ถึง 25% ในขณะที่ผู้ที่กินบร็อกโคลีเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งได้มากกว่า 2 เท่าหรือประมาณ 49%
ป้องกันมะเร็งปอด
ในผู้ที่ไม่สูบบุหรี่และกินผักที่มีฤทธิ์ช่วยต้านมะเร็งจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ถึง 30% และสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่และกินผักที่ช่วยต้านมะเร็งอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้ถึง 69%
สรุปได้ว่าผู้ที่กินบร็อกโคลีอย่างสม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งน้อยกว่าผู้ที่ไม่เคยกินหรือนานๆ ทีกินสักครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลมะเร็งหันมากินบร็อกโคลีกันเถอะค่ะ
Advertisement - ป้ายโฆษณา
0 comments :
Post a Comment