ลักษณะส่วนต่างๆ ของขิง
เหง้า | มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง |
ใบ | มีลักษณะเป็นรูปไข่เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มเป็นมันเรียวยาว ปลายใบแหลม ใต้ใบมีขนสีขาวนวล |
ดอก | มีลักษณะเป็นสีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อบริเวณที่เป็นเหง้า ปลายกลีบแผ่ออกกว้าง ส่วนโคนดอกกลีบจะม้วนลง |
ผล | มีลักษณะกลมโต แข็ง |
คุณค่าทางสมุนไพร
- เป็นยาฆ่าพยาธิ ขับลมในทางเดินอาหารและลำไส้ ขจัดเสมหะ บำรุงกล่องเสียง แก้ไอ สลายนิ่วตามทางเดินปัสสาวะ
- วิธีปรุง นำส่วนรากมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำ ใช้ดื่ม
- ขจัดเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ รักษาแผลในทางเดินอาหารช่วยย่อยอาหาร และทำให้เจริญอาหาร
- วิธีปรุง นำดอกมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่ม
- ขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสายตา ช่วยขับปัสสาวะและสลายนิ่ว
- วิธีปรุง นำใบสดมาต้มกับน้ำ ใช้ดื่ม
- แก้ไข้หวัด เจ็บคอ
- วิธีปรุง นำผลมาทุบแล้วต้มกับน้ำ ใช้ดื่ม
- บำรุงกล่องเสียง ชุ่มคอ ทำให้เสียงสดใส ปรับอุณหภูมิของร่างกาย ขับลมในกระเพาะอาหารละลายเสมหะ แก้ไอ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
- วิธีปรุง นำเหง้าแก่อายุประมาณ 1 ปีซอยให้ละเอียด กินสดๆ หรือนำไปประกอบอาหาร
เคล็ดลับขิงบำรุงเสียง
แบบที่ 1 : เลือกขิงแก่สัก 1 เหง้า นำมาฝนผสมกับน้ำมะนาวคนให้เข้ากัน ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเล็กน้อย สำหรับจิบช่วยให้ชุ่มคอ บำรุงกล่องเสียง
แบบที่ 2 : นำขิงสดมาซอนให้ละเอียด บีบน้ำมะนาวใส่เล็กน้อย ใช้กินล้างทางเดินอาหาร ขจัดสิ่งสกปรกในลำคอ
แบบที่ 3 : นำขิงสดหั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้งนำมาต้มกับน้ำ ทำเป็นน้ำชาจิบร้อนๆ ช่วยขับเสมหะล้างหลอดลม และทางเดินอาหาร แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ Advertisement - ป้ายโฆษณา
0 comments :
Post a Comment