Enjoy cooking
Enjoy eating
Home » , , , , , » ดูแลสุขภาพห่างไกลภาวะเกล็ดเลือดต่ำด้วยสมุนไพรหาง่าย

ดูแลสุขภาพห่างไกลภาวะเกล็ดเลือดต่ำด้วยสมุนไพรหาง่าย

Written By My Vegetables Diary on Wednesday, November 21, 2018 | November 21, 2018

เกล็ดเลือด คือส่วนที่ทำหน้าที่ในการห้ามเลือด หากเราเกิดมีบาดแผล ตัวเกล็ดเลือดจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วหรือทำหน้าที่สมานแผลถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป การทำงานของเกล็ดเลือดจะแบ่ง
เป็นขั้นๆ

ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion)
ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation)
ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) อ่านกระบวนการเกร็ดเลือดเพิ่มเติมได้ที่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระบวนการเหล่านี้จะทำการเชื่อมกันและซ้อนทับกันเพื่อห้ามเลือดและสมานแผล การรักษาระดับเกร็ดเลือดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจและไม่ควรมองข้าม เกล็ดเลือดปกติสามารถสนองต่อความปกติบนผนังหลอดเลือดมากกว่าการตกเลือด

ดูแลสุขภาพร่างกายเพื่อห่างจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
1. กินของดีมีประโยชน์ สดใหม่และคงสารอาหารมากที่สุด
ของดีมีประโยชน์ที่แท้จริงต้องยกนิ้วให้ ผักสด ผลไม้ เพราะในผักผลไม้มีสารอาหารอยู่มากมาย และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ อาหารประเภทแป้ง และไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว เช่น เค้ก คุ้กกี้

2. หมั่นออกกำลังกาย
การออกกำลังกายช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

3. พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนให้มากๆ ร่างกายจะได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ละช่วงอายุร่างกายต้องการเวลาพักผ่อนต่างกัน ซึ่งมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้ตารางการนอนตามช่วงอายุดังนี้

เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
เด็ก (อายุ 1-2 ปปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
วัยรุ่น (18-25 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
วัยทำงาน (26-64 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง เท่ากับตอนวัยรุ่น
วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง

4. ดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำ
เพราะร่างกายของเรามีส่วนประกอบของน้ำเป็นหลัก การน้ำมากพอที่ร่างกายต้องการ ระบบต่างๆ ของร่างกายจะทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพกว่า โดยเฉพาะช่วยเรื่องการสร้างเกล็ดเลือด การดื่มน้ำน้ำอุณหภูมิปกติ และอาศัยจิบน้ำหรือดื่มทีละน้อยๆ ตลอดทั้งวัน เพราะการดื่มนํ้าทีละมากๆ ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมนํ้าได้ทัน

อาหารและสมุนไพรที่ช่วยบำรุงระบบโลหิต
1. องุ่น - ในสมัยโบราณองุ่นเป็นสมุนไพรรักษาได้สารพัดโรค และใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ในองุ่นมีโพสแทสเซียมในปริมาณสูงและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โพแทสเซียมช่วยปรับสมดุลระบบของเหลวในร่างกาย มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงหัวใจและป้องกันโลหิตจ่าง

2. ฟักทอง - เนื้อของฟักทองมีสีเหลืองสด มีรสชาิหวานอร่อย ในเนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูง ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีนหรือสารต้านอนุมูลอิสระ ในเมล็ดฟักทองมีประโยชน์มากเช่นกัน หากรับประทานเมล็ดฟักทองเป็นประจำ จะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด

3. แตงโม - แตงโมให้โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย มีวิตามินบี1 บี2 ช่วยบำรุงประสาท มีเกลือแร่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง และมีธาตุเหล็กที่ช่วยในการบำรุงหัวใจ และบำรุงโลหิต

เหล่านี้เป็นสมุนไพรบางส่วนที่ช่วยบำรุงโลหิต และมีสารอาหารอื่นๆ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และยังมีสมุนไพรอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งมีประโยชน์แก่ร่างกายเช่นกัน

แหล่งอ้างอิง: วิกิพีเดีย สารานุกรมอิสระ, ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส., wikiHow, 40+Posttoday, Sanook.com


Advertisement - ป้ายโฆษณา
SHARE

0 comments :

Post a Comment