Enjoy cooking
Enjoy eating
Home » » ภาวะขาดวิตามินเอ อาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและการมองเห็น

ภาวะขาดวิตามินเอ อาจส่งผลกระทบต่อดวงตาและการมองเห็น

Written By My Vegetables Diary on Friday, May 1, 2020 | May 01, 2020

วิตามินเอ มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก ช่วยบำรุงสุขภาพและสายตา โดยปกติเราจะได้รับวิตามินเอจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน เช่น นม ไข่ แครอท ผักสีเหลืองและเขียวเข้ม

ประโยชน์ของวิตามินเอ

หากร่างกายขาดวิตามินเอ ส่งผลให้เกิดอาการ ปวดกระดูก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ผมร่วง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผิวลอก และที่สำคัญอาจส่งผลต่อการมองเห็น เช่น ตาบอดกลางคืน หรือในบางรายที่อาการรุนแรงอาจทำให้ดวงตาเสียหายถาวร ในผู้ป่วยเบาหวาน หรือเกี่ยวกับโรคตับจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ในการรับประทานวิตามินเอในรูปแบบของอาหารเสริม หรืออื่นๆ

แหล่งวิตามินเอที่พบได้ในผักผลไม้ทั่วไป

ตำลึง พืชผักสวนครัวที่หาง่าย นิยมปลูกไว้ตามบ้าน ในตำลึงมีวิตามินเอปริมาณสูงมาก เป็นที่รู้กันดีว่ากินตำลึงแล้วทำให้ตาสวย ช่วยบำรุงสายตา ผิวเต่งตึง ในส่วนของใบตำลึงที่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร มีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยแก้โรคตาแห้ง บำรุงสายตา

ผักโขม เป็นแหล่งของวิตามินซีและวิตามินเอ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ผักโขมที่ต้มสุกให้วิตามินเอมากถึงร้อยละ 294.8 ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับแต่ละวัน

ฟักทอง ในเนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา และยังเป็นแหล่งรวมของ วิตามินซี โพแทสเซียม โฟเลต กรด ไขมันโอเมกา-3 เส้นใยอาหาร ไธอะมิน แมงกานีส ที่มีส่วนช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

แคนตาลูป ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์นิตยสาร Archives of Ophtha Imology พบว่าการกินผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิมตามินเอ เช่น แคนตาลูป อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน  จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมของดวงตา อันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ

มะละกอสุก เนื้อของมะละกอสุกมีสีส้มและออกรสหวาน วิตามินเอในมะละกอช่วยปกป้องดวงตา บำรุงสายตา และป้องกันประสาทสายตาเสื่อม แต่การรับประทานมะละกอสุกในปริมาณมากและเป็นเวลานาน จะทำให้ผิวเป็นสีเหลือง เพราะแคโรทีนอยด์ที่เป็นเม็ดสีสะสมในร่างกายปริมาณมาก

ขอบคุณข้อมูลจาก medthai, POBPAD


Advertisement - ป้ายโฆษณา
SHARE

0 comments :

Post a Comment